วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

20.เผือก

เผือก


          สำหรับครั้งนี้ จะขอนำเสนอ เผือก พืชที่ทุกท่านเคยพบเห็นทั่วไป เเละบางท่านเคยรับประทานเเล้ว เเต่รู้หรือไม่ว่า มันมีพิษหรือไม่ เเละจะร้ายเเรงเเค่ไหน จะมีวิธีเเก้ไขหรือป้องกันพิษอย่างไร ฉะนั้นเชิญไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


ชื่อสามัญ :              Taro
ชื่อพฤกษศาสตร์ :   Colocasia esculenta (L.) Schott. ชื่อวงศ์ : ARACEAE : แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ :                      เขตร้อนของเอเชียตะวันออก 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 


  • ต้น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว [แบบเผือก] รูปลูกข่างกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ถ้ามีหัวย่อยขนาดใหญ่จะมีจำนวนน้อย ถ้าหัวย่อยมีขนาดเล็กจะมีจำนวนมาก







  • ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปลูกศรแกมรูปหัวใจ โคนใบแต่ละด้านกลมหรือเป็นเหลี่ยม ปลายใบแหลม เส้นใบเด่นชัด ก้านใบยาวได้ถึง 1 เมตร 






  • ดอก ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ ออกเดี่ยวๆ หรือหลายช่อ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร สั้นกว่าก้านใบ กาบหุ้มช่อดอกยาว 15-35 เซนติเมตร ตั้งตรง สีเขียว ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง สีเหลืองอ่อน ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ผลสีเขียว 




พิษของเผือก


  • ส่วนที่เป็นพิษ หัวและทั้งต้นมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้คัน จึงไม่ควรรับประทานแบบดิบ ๆ ต้องนำมาผ่านการต้มหรือหมักก่อนถึงจะรับประทานได้
  • การเกิดพิษ สำหรับบางรายก็อาจมีอาการแพ้เผือกได้ แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม โดยอาการที่พบ คือ คันในช่องปาก ทำให้ลิ้นชา เป็นต้น และการรับประทานเผือกในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ม้ามทำงานได้อย่างไม่เป็นปกติ

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81




19.สลัดไดป่า

สลัดไดป่า


           อันดับนี้ เราจะขอนำเสนอ พืชมีพิษ ฤทธิ์อันตราย สลัดไดป่า เป็นพันธ์ไม้ประดับอีกชนิดหนึ่ง ที่เคยพบเห็นตามบ้านเรือน มีลักษณะที่คล้ายกับ กระบองเพชร  เเต่รู้หรือไม่ว่าพืชชนิดนี้นั้นมีพิษ  ฉะนั้นเราจะขอเเนะนำ ให้ทุกท่านได้ศึกษาอย่างละเอียด เพื่อหาทางป้องกัน เเละเเก้ไขได้อย่างถูกวิธี เชิญได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphobia antiquorum L.
วงศ์ :                  Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ :         Triangular Spurge, Malayan Spurge Tree
ชื่ออื่น :              สลัดไดป่า (ภาคกลาง) เคียะผา (ภาคเหนือ) กะลำพัก (นครราชสีมา) เคียะเลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้น ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นกิ่งอวบน้ำมี 3-6 เหลี่ยมตามแนวสัน ที่สันมีหนาม ผิวสีเขียว ถ้าแก่จัดมีสีน้ำตาล ทุกส่วนมียางสีขาวขุ่น 


  • ใบ ใบ เดี่ยว มีจำนวนน้อย ออกตามแนวสัน รูปไข่กลับ ปลายใบกลม 


  • ดอก ดอก เป็นช่อสั้นๆ มีใบประดับออกเป็นคู่ตรงข้าม และมีใบประดับย่อยขนาดเล็กๆ รูปครึ่งวงกลมติดอยู่รอบดอก ในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกเพศผู้หลายๆ ดอก และมีดอกเพศเมียดอกเดียว ผล เป็นผลสด



พิษของสลัดไดป่า
  • ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาว
  • สารพิษ: เป็นสารพวก deoxyphorbol เช่น euphorbin มี tetracyclic diterpene เป็นต้น
  • การเกิดพิษ: น้ำยางถ้าถูกผิวหนังจะคันแดงแสบ ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ ถ้ารับประทานยางเป็นยาถ่ายอย่างแรง

ที่มา https://www.samunpri.com/poison/%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/

18.มะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์


       

       อันดับต่อมาเราจะขอนำเสนอ มะม่วงหิมพานต์ พืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันทั่วไป   เเต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากประโยชน์ทางด้านการเกษตรเเล้ว โทษของมันก็มีเช่นกัน ฉะนั้นถ้าอยากรู้ว่าโทษของมันคืออะไรนั้น จะร้ายเเรงเเค่ไหน เชิญไปศึกษาได้เลย



ชื่่อวิทยาศาสตร์:   Anacardium occidentale L.          
วงศ์ :                   Anacardiaceae
ชื่อสามัญ :           Cashew Nut Tree
ชื่ออื่น :                กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย (ภาคใต้) นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์) มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเม็ดล่อ (ระนอง) มะม่วงไม่รู้หาว มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) ยาร่วง (ปัตตานี)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
  • ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตร 





  • ใบ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ ขนาดกว้าง 7.5-10 เซนติเมตร โคนใบแหลม ปลายใบมน ช่อดอกยาว 15-20 เซนติเมตร โดยแตกออกจากซอกใบและปลายกิ่ง 






  • ดอก กลีบดอกเริ่มแรกจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีการพัฒนาฐานรองดอกให้ขึ้น มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ สีเหลืองแกมชมพู แล้วค่อยเปลี่ยนกลายเป็นสีแดง เนื้อในนิ่ม ที่ปลายจะมีผลติดอยู่เป็นรูปไต ลักษณะเปลือกแข็ง สีน้ำตาลแกมเทา ยาว 2.5-3 เซนติเมตร 



พิษของมะม่วงหิมพานต์
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากผล
  • สารพิษ:esin, diterpene ester
  • การเกิดพิษ : ถ้าถูกยางจากผลทำให้เกิดบาดแผลพุพองต่อผิวหนัง ถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองรุนแรงต่อปาก ลิ้น คอ และหลอดลมอักเสบ
  • การรักษา :ถ้าน้ำยางถูกภายนอก ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วล้างเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ช่วยให้น้ำยางออกมมากยิ่งขึ้น ถ้ามียาที่เข้าสเตียรอยด์ใช้ทา ถ้ารับประทานเข้าไป ให้ใช้ activated charcoal (ถ่าน) รับประทาน ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน ถ้าอาการหนักให้ส่งโร

17.ตาตุ่มทะเล

ตาตุ่มทะเล

        

        อันดับที่เเล้วเรานำเสนอ โพทะเล พืชมีพิษ ที่ไม่ค่อยพบเห็นมากนัก เเละนี้ก็เป็นอีกชนิดหนึ่ง นั่นคือ ตาตุ่มทะเล ที่ไม่ค่อยพบเห็นได้ทั่วไปเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเราไปทำความรู้จักอย่างละเอียดเเละศึกษาพร้อมกันได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Excoecaria agallocha L.
วงศ์ :                   Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ :           Blind Your Eyes
ชื่ออื่น :                ตาตุ่ม ตาตุ่มทะเล (กลาง) บูตอ (มลายู-ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  
  • ต้น ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สีของเปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ลำต้นแตก เป็นร่องยาวตามลำต้น มียางสีขาวที่เป็นพิษ และที่ผิวของเปลือกยังมีตุ่มเล็กๆ



  • ใบ ใบใหญ่หนาทึบ รูปร่างขอบขนาน ปลายแหลมมน ใบติดกับกิ่งแบบเวียน มีผิวมัน 




  • ดอกดอกออกเป็นช่อเรียวยาว ตามโคนและก้านใบ ลำต้นและส่วนต่างๆ มียางขาว ขึ้นตามชายน้ำ ป่าชายเลน





พิษของตาตุ่มทะเล
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากต้น และสารจากต้น
  • สารพิษ : oxocarol, agalocol, isoagalocol ellagic acid, gallicacid
  • การเกิดพิษ : ยาง หรือควันไฟจากการเผาไหม้ตาตุ่มทะเลเข้าตา จะทำให้ตาเจ็บ ถ้ามากอาจทำให้ตาบอดได้ถ้าหอยปูไปเกาะไม้ตาตุ่ม เมื่อนำมารับประทานจะทำให้เกิดอาการพิษ ท้องเสียอย่างรุนแรง อาเจียน
  • การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ

ที่มา https://www.samunpri.com/poison/?s=%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5

16.โพทะเล

โพทะเล

          

          สำหรับอันดับนี้ เราจะขอนำเสนอ โพทะเล พืชมีพิษที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จัก หรือเคยพบเห็นมากนัก เเละไม่รู้ว่ามันมีพิษอย่างไร ฉะนั้นเรามีมาให้ทุกท่านได้ศึกษาอย่างละเอียด เชิญไปศึกษาพร้อมกันได้เลย



ชื่อวิทยาศาสตร์:  Thespesia populnea L. Soland.ex Corr.
วงศ์ :                   Malvaceae
ชื่อสามัญ :           Cork tree, Portia tree, Rosewood of Seychelles, Tulip tree
ชื่ออื่น :                บากู (มลายู-นราธิวาส) ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ปอมัดไซ (เพชรบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
  • ต้น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กสูง ๘ ๑๒ เมตร ลำต้นโค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำเรือนยอดแผ่กว้าง ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระมีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก



  • ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ


  • ดอกโพทะเล ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ตามซอกใบ ส่วนก้านดอกอ้วนสั้นและมีเกล็ด ดอกมีริ้วประดับ 3 แฉก มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ๆ ส่วนวงกลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วยไม่มีแฉก กลีบดอกเป็นสีเหลือง  ส่วนโคนกลีบติดกันเป็นรูประฆังและมีจุดสีแดงเข้มอมสีน้ำตาลแต้มอยู่ที่โคนกลีบดอกด้านใน โดยดอกจะบานเต็มที่ภายในวันเดียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแกมสีม่วงอ่อนและเหี่ยวอยู่บนต้น



พิษของโพทะเล
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากต้น เปลือก
  • การเกิดพิษ : ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน

15.โป๊ยเซียน

โป๊ยเซียน

           

           อันดับต่อมาเราจะขอกล่าวถึง ไม้ดอก ไม้ประดับอีกชนิดหนึ่ง ที่พบเห็นกันได้ทั่วไป นั่นคือ โป้ยเซียน เเต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีพิษอย่างไร ฉะนั้นเชิญมาร่วมค้นหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์:   Euphorbia milii Des Moul.
วงศ์ :                    Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ :            Crown of Thorns, Corona de Sespina
ชื่ออื่น :                 ระวิงระไว พระเจ้ารอบโลก ว่านเข็มพญาอินทร์ (เชียงใหม่) ไม้รับแขก (ภาคกลาง) ว่านมุงเมือง(แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้น ไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยมมนสีน้ำตาล มีหนามแหลม ออกเป็นกระจุก 



  • ใบ ใบเดี่ยว ออกบริเวณส่วนปลายลำต้น ไม่มีก้านใบ ใบอวบน้ำ รูปไข่กลับ ปลายใบมน ใบออกสลับ 




  • ดอก ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกใกล้ส่วนยอด มีชนิดต้นดอกสีแดง สีนวล สีเหลือง ฯลฯ ขนาดของดอกย่อยแตกต่างกัน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว




พิษของโป๊ยเซียน

วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

14.มะกลํ่าตาหนู

มะกลํ่าตาหนู

        สำหรับอันดับนี้เราจะขอนำเสนอ มะกลํ่าตาหนู พืชที่ทุกคนอาจจะยังไมคุ้นเคยมากนัก ด้วยลักษณะผลที่เเปลกเเละลำต้นที่คล้ายคลึงกับพืชทั่วๆไป  เเต่รู้หรือไม่ว่านอกจากลักษณะที่เเปลกของมันเเล้ว พิษของมันก็มีเช่นเดียวกัน เเละพิษของมันจะเป็นอะไรนั้น จะร้ายเเรงเเค่ไหน เชิญร่วมหาคำตอบพร้อมกันเลย

ชื่อวิทยาศาสตร์:   Abrus precatorius L.
วงศ์ :                    Papilionaceae
ชื่อสามัญ :           Jequirity bean, rosary bean, Buddhist rosary bean , Indian bead, Seminole bead, prayer bead, crab 's eye, weather plant, lucky bean
ชื่ออื่น :                 กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำแดง มะแด๊ก มะขามไฟ ตาดำตาแดง ไม้ไฟ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
  • ต้น เป็นพืชตระกูลถั่ว ไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่




  • ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ออกเรียงสลับ ในก้านหนึ่งจะมีใบย่อประมาณ 8-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน มีหนามขนาดเล็กติดอยู่ โคนใบมน




  • ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู หรือขาว ผลเป็นฝักคล้ายถั่วลันเตา  เมล็ดกลมรี เมล็ดมีเปลือกแข็ง สีแดงสดเป็นมัน 



พิษของมะกลํ่าตาหนู
  • ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
  • สารพิษ : เมล็ดมะกล่ำตาหนู ภายในเมล็ดมีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต อย่างไรก็ดีสาร abrin นี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวง่าย แต่คงทนอยู่ในทางเดินอาหาร ขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้

13.กลอย

กลอย


      สำหรับอันดับต่อมาจะขอนำเสนอ กลอย พืชตระกูลมัน ที่หลายคนคงรู้จักเคยพบเห็นเป็นอย่างดี เเละนิยมนำมาทำอาหาร เเต่รู้หรือไม่ว่าพืชชนิดนี้นั้นมีพิษอย่างไรบ้าง ควรจะป้องกันเเละหาทางรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี ซึ่งในวันนี้เรามีมาให้ทุกท่านได้ศึกษาอย่างละเอียด ฉะนั้นเชิญไปศึกษาเเละหาคำตอบได้เลย  


ชื่อวิทยาศาสตร์  Dioscorea hispida Dennst.
ชื่อพ้อง              D. hirsuta Blume
วงศ์                   Dioscoreaceae
ชื่อท้องถิ่น         กลอยข้าวเหนียว กลอยนก กลอยหัวเหนียว กอย คลี้ มันกลอย Intoxicating yam, Nami, Wild yam

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
  • ต้น เป็นไม้เถา ลำต้นกลม มีหนาม หัวใต้ดิน ส่วนมากกลม เปลือกสีเทาหรือสีฟาง เนื้อขาว หรือเหลืองอ่อน อมเขียว 





  • ใบ ใบประกอบ เรียงตัวแบบเกลียว ผิวใบสากมือ มีขนปกคลุม ปลายเรียวแหลม โคนแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบนูน 





  • ดอก ดอกช่อแบบแยกแขนง แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกสีเขียว ออกตามซอกใบ ห้อยลง   



พิษของกลอย
  • สารพิษ พืชในสกุล Dioscorea จะมีสารพิษ คือ dioscorine ในปริมาณที่แตกต่างกันแล้วแต่ species ในหัวกลอยจะมี dioscorine ในปริมาณมาก หัวกลอยแห้งและลอกเปลือกออก
  • อาการพิษ : หากรับประทานหัวกลอยมาก จะกดระบบทางเดินหายใจ และทำให้ตายได้ จากรายงานการวิจัยของ วรา จันทร์ศิริศรี และคณะ ฉีดน้ำสกัดกลอยเข้าทางเส้นเลือดดำของหนูถีบจักร พบว่ากลอยจะไปกระตุ้นในระยะแรก ตามมาด้วยการกดระบบประสาทส่วนกลาง การเคลื่อนไหว (motor activity) ลดลงภายหลังฉีดน้ำสกัดกลอยในขนาดที่เริ่มทำให้เกิดพิษ (กดระบบประสาทส่วนกลางเพียงอย่างเดียว) แต่ถ้าฉีดในขนาดสูงมากจนสัตว์ทดลองตาย หนูถีบจักรจะชักในระยะแรก แล้วในที่สุดจะตายเนื่องจากระบบการหายใจถูกกด

ที่มา https://www.samunpri.com/poison/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2/

12.เทียนหยด

เทียนหยด


       อันดับต่อมาเราจะขอนำเสนอ เทียนหยด พืชที่นิยมปลูกตกเเต่งบ้านหรือสวน   เเต่รู้หรือไม่ว่าพืชสีสันสวยงามชนิดนี้ นอกจากความงามเเล้ว โทษของมันก็มีเช่นกัน ฉะนั้นถ้าอยากรู้ว่าโทษของมันคืออะไรนั้น จะร้ายเเรงเเค่ไหน เชิญไปศึกษาได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Duranta repens L.
วงศ์ :                  Verbenaceae
ชื่อสามัญ :          Duranta, Sky Flower, Pigeon Berry, Golden Dewdrop
ชื่ออื่น :               พวงม่วง ฟองสมุทร (กรุงเทพฯ) เครือออน (แพร่)

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามากรอบ ๆ ลำต้นตั้งแต่โคนต้นถึงยอด กิ่งมีลักษณะลู่ลง ตามกิ่งอาจมีหนามบ้างเล็กน้อย


  • ใบ ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบใบจัก 


  • ดอก ดอก ช่อ มี 3 ชนิด คือดอกสีขาว สีม่วงอ่อน และสีม่วงแก่ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล ออกเป็น ช่อ ห้อยลง รูปกลมสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง


พิษของเทียนหยด 
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ ผล
  • สารพิษ : ใบ ผล มีสาร saponin และผลมีสาร narcotine alkaloids
  • การเกิดพิษ : รับประทานผลอาจตายได้ จะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ ตาพร่า กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับพิษมาก เม็ดเลือดแดงแตกได้ พืชนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นด้วย
  • การรักษา : 1.ส่งโรงพยาบาล 2.ให้กินนม หรือไข่ขาว เกลือบกระเพาะ เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ 3.ล้างท้อง 4.ถ้าเสียน้ำมาก ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...