วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

2.หมามุ่ย

หมามุ่ย



        ถ้าพูดถึงหมามุ่ยคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เเละต้องคิดถึงพิษความคันของมันเเน่นอน ที่ทำให้หลายคนปวดเเสบปวดร้อนมาเเล้ว ฉะนั้นถ้าเราอยากหาทางรักษาอาการนี้ เรามีมาให้ท่านได้ศึกษาเเละได้รู้จักอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อรู้เท่าทันเเละหาทางเเก้ไขได้อย่างถูกต้อง


ชื่อวิทยาศาสตร์:           Mucuna pruriens (L.) DC.
ชื่อพ้อง                           M. prurita Hook.f.
วงศ์ :                               Leguminosae - Papilionaceae
ชื่อสามัญ :                      Cowitch , Cowhage
ชื่ออื่น :                            บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กลออื้อแซ   (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



  •   ใบ ไม้เลื้อย ใบ ประกอบ  คล้ายใบถั่วฝักยาว คือมี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม มีขนทั่วไป


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
 



  •  ดอก ช่อ ดอกย่อย แบบดอกถั่ว สีม่วงแก่ ออกตามง่ามใบแถวปลายยอด ฝักแก่จัดสีเหลืองทองถึงเหลืองแก่ มีขนค่อนข้างยาว ถ้าสัมผัสจะคัน ฝักแก่จัดขนจะร่วงปลิวไป



ชนิดของหมามุ่ย

                      ชนิดที่ 1 ฝักจะไม่ยาวมาก ประมาณ 5-7 เซนติเมตร ฝักตรง
                      ชนิดที่ 2 ฝักจะยาวกว่าชนิดแรกเล็กน้อย แต่ปลายฝักจะงอนออก ยาว 5-8 เซนติเมตร 
                      ชนิดที่ 3 เป็นหมามุ่ยใหญ่ (หมามุ่ยช้าง, สะบ้าลิง) ฝักรูปทรงกระบอกค่อนข้างแบน ผิวผลย่นๆ เป็นสันและยาวกว่า 2 ชนิดแรก ยาว 10-12 เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลแดง 



พิษของหมามุ่ย

  • ส่วนที่เป็นพิษ : ขนจากฝัก 
  • สารพิษและสารเคมี : ขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้ ในขนมี serotonin เป็นสารกระตุ้น    ให้ร่างกายคนหลั่ง histamine ก่อให้เกิดการแพ้ผื่นคัน บวมแดง 
  • อาการเกิดพิษ : ผิวหนังเมื่อถูกขนหมามุ่ย จะคัน ระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง
  • การรักษา : ให้พยายามเอาขนออกให้หมด โดยใช้เทียนไขลนไฟ ให้นุ่ม หรือข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว คลึงจนกระทั่งขนหลุดหมด แต่ถ้าไม่มีของพวกนี้ อาจใช้ถูไปมาบนผม ถ้าเป็นผมสั้นๆ จะได้ผลดี เมื่อคลึงเอาขนหลุดหมดแล้ว ถ้ายังคันให้ทายาคาลาไมน์หรือครีมที่มีสเตียรอยด์ เช่น ครีมพวกเพนนิโซโลน และรับประทานยาแก้แพ้ทุก 6 ชั่วโมง


วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

1.ตำเเย


 ตำแย 


           ตำแยตัวเมีย  


     


                ตำเเย พืชพื้นบ้านที่เรารูจัก เคยพบเห็นทั่วไป เเต่รู้หรือไม่ว่า มันมีพิษอย่างไร  อาจมีบางท่านที่เคยรู้ถึงพิษสงของมันบ้างเเล้ว เเต่สำหรับท่านที่ยังไม่รู้จัก หรือรู้จักเเล้ว เเต่ยังไม่มากพอ เรามีมาให้อย่างละเอียด เเละมาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันว่า เจ้าตำเเยนี้ จะมีอัตรายกับเรามากเเค่ไหน เชิญหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์  Laportea interrupta (L.) Chew 
วงศ์                     กะลังตังช้าง (URTICACEAEหรือ CECROPIACEAE)
ชื่อท้องถิ่น           ว่านช้างร้อง (เชียงใหม่), หานไก่ (ภาคเหนือ), ตำแยตัวเมีย (ภาคกลาง), กะลังตังไก่ (ภาคใต้), เส่เลเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), งาง ชิง้าง (ลั้วะ) เป็นต้น


ลักษณะของตำแย

  • ต้นตำแย จัดเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นได้ถึง 50 เซนติเมตร ทุกส่วนของต้นมีขนพิษ



ต้นตำแย


  • ใบตำแย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้านหรือหยักเว้า ส่วนขอบใบหยักหรือจักเป็นซี่ฟัน ผิวใบด้านล่างเป็นมีสีเขียวอ่อน



ใบตำแย

  • ดอกตำแย ออกดอกเป็นช่อโค้งยาวตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศ ไม่มีกลีบดอก ดอกย่อยมีจำนวนมาก และดอกเป็นสีเขียว



ต้นตำแยตัวเมีย
ดอกตำแย


พิษของตำแย

  • ส่วนที่เป็นพิษ : ขนจากทุกส่วนของต้นมีพิษ มีฤทธิ์ระคายเคืองผิวหนัง โดยมีสารที่เป็นพิษ คือ สาร histamine, acetylcholine, acetic acid, formic acid, 5-hydroxy tryptamine ฯลฯ
  • อาการเกิดพิษ : หากสัมผัสขนพิษจากทุกส่วนของต้นจะทำให้เกิดอาการคันมาก ผิวหนังมีอาการปวดแสบปวดร้อน ระคายเคือง เป็นผื่นแดง บวมแดง ถ้าถูกบริเวณผิวหนังที่อ่อนนุ่มจะมีอาการที่รุนแรงยิ่งขึ้น
  • วิธีแก้พิษตำแย : ให้เอาขนที่ติดอยู่บนผิวหนังออกก่อน (ใช้วิธีเดียวกับการเอาขนหมามุ่ยออก โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัวลง แล้วนำมาคลึงบริเวณที่ถูกขนพิษ หรือใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุกปั้นคลึงจนเป็นเนื้อเดียวกันจนขนติดออกมา) หลังจากนั้นให้ทาด้วยคาลาไมน์หรือครีมสเตียรอยด์ (เช่น เพรดนิโซโลน) วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อแก้อาการคัน และถ้ายังมีอาการปวดอยู่ ก็ให้รับประทานยา chorpheniramine 4 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด ทุก ๆ 6 ชั่วโมง

วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พืชมีพิษ ฤทธิ์อันตราย

         

          พืชที่พบเห็นอยู่รอบตัวเรา มีมากมายหลายชนิด เเต่เรารู้หรือไม่ว่านอกจากความงามเเละประโยชน์เเล้ว พืชที่เราพบเห็นเเละได้สัมผัสนั้น มีพิษหรือมีสารระคายเคืองซึ่งก่อให้เกิดอันตรายเเก่ตัวเราบ้าง บางชนิดอาจร้ายเเรงถึงชีวิตได้ ฉะนั้นในวันนี้เราจะมากล่าวถึง "พืชมีพิษ ฤทธิ์อันตราย" เพื่อรู้เท่าทันเเละหาทางป้องกัน ช่วยกันระมัดระวังอันตรายจากพืชเหล่านี้ได้

 
 

 

 


 





50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...