วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

10.พลูฉีก

พลูฉีก

 

         สำหรับครั้งนี้เราจะขอกล่าวถึง พลูฉีก พืชที่มีลักษณะของใบที่สวยงาม นิยมปลูกตกเเต่งบ้าน เเต่รู้หรือไม่ว่า พืชชนิดนี้้มีพิชหรือมีอันตรายต่อเราอย่างไร ฉะนั้นเชิญค้นคว้า เเละร่วมหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์: Monstera deliciosa Liebm.
วงศ์ :                    Araceae
ชื่อสามัญ :           Mexican breadfruit, Swiss cheese plant
ชื่ออื่น :                พลูฉีก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
  • ต้น เป็นไม้เลื้อยที่มีรากตามข้อ มีรากออกตามข้อของลำต้น ช่วยในการเกาะยึด





  • ใบ ก้านใบยาว ใบคล้ายรูปหัวใจ แผ่นใบอาจเว้าลึกหลายแห่ง หรือไม่เว้าเลยก็มี ใบมีสีเขียวเป็นมัน 





  • ดอก ดอกสีขาวออกเป็นช่อเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ยอด ส่วนที่เป็นพิษ ยางจากต้น และสารจากต้น

ผิษของพลูฉีก
  • สารพิษ : สารในต้น สารพิษและสารเคมีอื่นๆ calcium oxalate, lycorine alkaloids
  • การเกิดพิษ : ถ้าเคี้ยวเข้าไปจะทำไห้ปาก ลิ้น เพดาน แสบและร้อนแดง เกิดอาการอาเจียน ท้องเสียเล็กน้อย เนื่องจากสารพิษไประคายเคือง mucosa และไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการอาเจียน 
  • การรักษา : เมื่อได้รับสารพิษจากต้นให้ยาระงับปวดจำพวก meperidine(Demerol) บ้วนปากและกลั้วคอ รับประทาน aluminum magnesium hydroxide งดอาหารจำพวกไขมัน ให้อาหารอ่อนๆ

9.โหรา

โหรา


           จากอันดับที่เเล้วเรากล่าวถึง บอน สำหรับครั้งนี้เราจะขอกล่าวถึง โหรา พืชที่มีลักษณะคล้ายกับบอน กันบ้าง ที่หลายคนอาจเคยพบเห็นเเต่ยังไม่รู้จักมากพอ ไม่รู้ถึงอันตรายของพืชชนิดนี้ ฉะนั้นไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลยว่า โหรา จะมีพิษร้ายเเรงขนาดไหน เเละมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง


ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena aromatica
วงศ์ :                     Araceae
ชื่อสามัญ :            โหรา
ชื่ออื่น :                  คูน กระดาดขาว กระดาดดำ ออดิบ


ลักษณะทั่วไป
  • ต้น  ลำต้นสีขาว ไม้ล้มลุกหลายปีมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบแทงออกจากเหง้า ก้านใบยาวสีเขียวที่ผิวมีไขเคลือบอยู่




  • ใบ  ก้านใบมีไขเคลือบอยู่ มองดูมีสีขาวนวล เนื้อของก้านใบกรอบน้ำ และมีรูอากาศแทรกอยู่ในเนื้อใบ ใบเป็นรูปหอกปนรี ปลายใบมน ฐานใบเว้า ริมใบเรียบหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ผิวใบมันและมีสีเขียว ใบกว้าง 16-17 นิ้ว ใบยาว 11-19 นิ้ว ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง อ้อดิบกับโหรา คือ สี โหราจะมีสีเขียวเข้มกว่า ทั้งก้านและใบ ส่วนอ้อดิบจะมีสีเขียวอ่อนเกือบขาว





  • ดอก ดอกช่อ ออกเป็นแท่งเดี่ยวๆ ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ฉ่ำน้ำ ผล เป็นผลสด สีเขียว






พิษของโหรา

  • ส่วนที่เป็นพิษ: น้ำยางจากทุกส่วนของต้นและเมล็ด
  • สารพิษ: Calcium Oxalate ลักษณะผลึกเป็นรูปเข็ม ไม่ละลายน้ำ (bundle of the needle like crystals ; raphides) ส่วนที่มีผลึกมาก คือ น้ำยางใสจากทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะลำต้น และใบ
  • อาการพิษ :หลังจากรับประทานแล้ว จะมีอาการระคายเคืองในลำคอ ปากและลิ้น ทำให้ลิ้นแข็ง ไม่สามารถพูดได้  
  • การรักษา :ถ้าเผลอรับประทานเข้าไปแล้วรู้สึกผิดปกติ ก็ให้หยุดทันที รีบล้างปาก ดื่มนมเย็น หรือไอศกรีม เพื่อลดอาการระคายเคืองเฉพาะที่ แต่ห้ามทำให้อาเจียน เพราะจะทำให้สารพิษย้อนขึ้นมาสัมผัสเยื่อบุปากและคออีกครั้ง แล้วจึงรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว” ในขณะที่บางกระแสก็มีการปฐมพยาบาลแบบอื่น ๆ เช่น บ้วนปากด้วยน้ำมะพร้าว หรือให้ดื่มน้ำส้มสายชูหมักของฝรั่งสักสองสามช้อนโต๊ะ  (ไม่ใช่น้ำส้มสายชูกลั่นแบบไทย) เพราะความเป็นกรดของน้ำส้มสายชูหมักจะลดการระคายเคืองจากผลึกรูปเข็มแหลมเล็กของโหราที่กระจายอยู่ตามคอ และหลอดอาหาร และบ้างก็บอกว่าให้รีบหาน้ำตาลทรายขาวหรือแดงมาอมอย่างด่วนที่สุด เพื่อเป็นการบรรเทาอาการก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลต่อไป


8.บอน

บอน


          นํ้ากลิ้งบนใบบอน ถ้าพูดถึงสุภาษิตนี้ ทุกคนต้องนึกถึงพืชชนิดนี้ นั่นคือ บอน ชึ่งเเน่นอนว่าต้องรู้จักเเละเคยพบเห็นกันอย่างเเพร่หลาย พอจะรู้ถึงลักษณะของมันบ้างเเล้ว เเต่ในวันนี้เราจะขอกล่าวถึงในมุมที่ทุกคนอาจจะยังไม่รู้ เรื่องพิษของมันนั่นเอง จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญไปค้นหาได้เลย


ชื่อไทย :               บอน
ชื่อสามัญ :            Elephant ear
ชื่อวิทยาศาสตร์Colocasia esculenta (L.) Schott var. aquafiilis Hassk.
ชื่อวงศ์ :                ARACEAE

ลักษณะทั่วไป
  • ต้น เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู ชอบขึ้นตามชายน้ำหรือที่ลุ่มมีน้ำขัง ลำต้นเป็นหัวเล็ก ๆ อยู่ในดิน ชูก้านใบโผล่ขึ้นมา มีไหลเลื้อยไปเกิดเป็นต้นใหม่ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว





  • ใบ เป็นใบเดี่ยว มีก้านอวบน้ำใหญ่ยาว ใบมีรูปร่างหลายแบบคล้ายหัวลูกศร ก้านใบติดกับแผ่นใบทางด้านล่าง โคนก้านใบแผ่กว้างหุ้มประกบกัน 





  • ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ มีก้าบหุ้มดอกยาวรี โคนป่องมีช่องเปิดเห็นช่อดอกตรงกลาง ส่วนบนของช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ ส่วนล่างเป็นดอกตัวเมีย


พิษของบอน
  • ส่วนที่เป็นพิษ :  ต้นบอนจะมีน้ำยางเหนียวสีขุ่น  ๆ ถ้าถูกจะคัน
  • การเกิดพิษ  : ถ้าสัมผัสถูกพืชที่มียางจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เป็นผื่นแดง   ผิวหน้าบวม และอาจจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้
  • การรักษา : ในกรณีที่สัมผัสกับน้ำยางใสให้ล้างด้วยน้ำและสบู่ แต่ถ้าถูกน้ำยางขาวซึ่งล้างด้วยน้ำและสบู่ไม่ออกให้ล้างหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วทาด้วยคาลาไมด์ และรับประทานยาแก้แพ้ ควรประคบบริเวณที่มีอาการด้วยน้ำเย็นจัดประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ายางเข้าตาควรล้างตาทันทีด้วยน้ำยาล้างตา หยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีตัวยาเป็นสเตียรอยด์ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล 


ที่มา https://medthai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99/

7.ตำเเยช้าง

ตำแยช้าง



          ต่อจากนี้เราก็จะขอกล่าวถึงพืชมีพิษอย่าง ตำเเยช้าง ทุกคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือเคยพบเห็นมากนัก ชึ่งก่อนหน้านี้เราก็มีการนำเสนอพืชมีพิษอย่าง ตำเเยมาเเล้ว ในอันดับที่ 1 ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่ามันเเตกต่างกันหรือเมือนกันอย่างไร ฉะนั้นเราไปร่วมหาคำตอบพร้อมกันกับพืชมีพิษ ฤทธิ์อันตรายชนิดนี้ได้เลย



ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocnide stimulans (L.f.) Chew
วงศ์ :                  Urticaceae
ชื่ออื่น :               สามแก้ว (ภาคใต้) หานเดื่อ หานสา (ภาคเหนือ) เอ่โก่เปอ ไอ้ขุนา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
  •  ต้น เป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 5 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทา และมีประช่องระบายอากาศทั่วไป 







  •  ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเวียนกัน ทรงใบรูปหอกกลับ โคนใบสอบ ปลายสุดของใบเรียวแหลม ผิวใบด้านล่างเป็นคราบขาว







  •  ดอก ดอกเล็กสีขาวปนเหลือง หรือสีม่วงอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อยาวๆ ห้อยตามง่ามใบ ผลเล็ดกลมสีเขียว






พิษของตำเเยช้าง
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ช่อดอก จะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังไหม้เกรียม หรือแดง เป็นผื่นและปวดมาก
 

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

6.หญ้าคา

หญ้าคา


       สำหรับพืชมีพิษอันดับต่อมาที่เราจะขอนำเสนอ คือ หญ้าคา พืชที่หลายคนคงรู้จักเคยพบเห็นเป็นอย่างดีตามข้างถนนหนทาง สวน นา ไร่ เเละอาจจะรู้ถึงพิษของมันบ้างเเล้ว เเต่ในวันนี้เรามีมาท่านได้ศึกษาอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น ถ้าอยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญศึกษาไดเลย


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Imperata cylindrica (L.) P.Beauv.
วงศ์ :                   Poaceae (Gramineae)
ชื่อสามัญ :          Thatch Grass , Wolly Grass, Lalang, Alang-alang
ชื่ออื่น                ลาลาง ลาแล (มลายู-ยะลา)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  •  ต้น ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินสีเหลืองอ่อน ยาวและแข็ง ลำต้นเทียมบนดินสูงได้ 0.3-0.8 เมตร








  •  ใบ ใบเดี่ยว แทงออกจากเหง้า ใบเล็กยาว ขอบใบคม 






  •  ดอก ดอกช่อ แทงออกจากเหง้า ดอกย่อย ขนาดเล็ก รวมกันอยู่ช่อแน่น สีเงินอมเทาอ่อนๆ ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก




พิษของหญ้าคา

  • ส่วนที่เป็นพิษ: : ขอบใบคม อาจบาดทำให้เป็นแผล สัมผัสผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน 
  • วิธีการป้องกัน1.ใช้วิธีการเกษตรกรรม เช่น การถาก ตัดให้สั้นไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง 2.ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น มาร์เก็ต ไกลโฟเสต ดาร์ไฟท์ (ไกลโฟเซต, ไอโซโพฟิลามีน ซอลต์) ดามาร์ค (ไกลโฟเลท) ทัชดาวน์ (ไกลโฟเซต ไตรมีเซียมซอลต์)

ที่มา https://www.samunpri.com/poison/?s=%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2




5.พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ



      ลำดับต่อมาเราจะขอกล่าวถึง พญาไร้ใบ พืชมีพิษที่ใครๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก เพราะไม่ค่อยได้พบเห็นกันมากนัก หรืออาจจะเคยพบเห็นกันบ้างเเต่ยังไม่รู้รายละเอียดมากพอ ไม่รู้ว่ามันมีพิษอย่างไร ฉะนั้นเรามีมาให้ทุกท่านได้ศึกษา เเละได้หาคำตอบไปพร้อมกัน


ชื่อวิทยาศาสตร์:   Euphorbia tirucalli L.
วงศ์ :                      Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ :             Pencil Plant, Milk Bush
ชื่ออื่น :                   เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่) เคียะเทียน (ภาคเหนือ)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  

  • ต้น ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร ลำต้นสีเขียว กลมขนาดเล็ก อวบน้ำ มียางสีขาวทุกส่วน  ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นต่อกันเป็นข้อๆ



  • ใบ ใบ เดี่ยว ขนาดเล็กมาก ร่วงง่าย 



  •   ดอก เป็นกระจุกตามข้อหรือปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย ดอกสมบูรณ์เพศมีเล็กน้อย ผล ไม่ค่อยติด รูปร่างผลยาว มี 3 พู ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้ม




พิษของพญาไร้ใบ

  • ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม
  • สารพิษ : ยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง euphorbon, euphorone, resin, taraxasterol, tirucallol
  • อาการเกิดพิษ : ถ้าถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น อักเสบ บวมแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบแดง ถ้ารักษาไม่ถูกหรือทิ้งไว้ตาอาจบอดได้ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ช่องปากจะบวม คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะปัสสาวะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง อาจอุจจาระเป็นเลือด
  • การรักษา : ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง มียาสเตียรอยด์ให้ทาที่ผิวหนัง ถ้ามียาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ยอดตาถ้ารับประทาน 1. ให้ใช้ activated charcoal รับประทานเพื่อดูดเอาส่วนที่ยังไม่ดูดซึมออก 2. ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน 3. ให้ดื่มนมหรือไข่ขาว เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ 4. ส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น


วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

4.ชวนชม

ชวนชม



          สำหรับครั้งนี้เราจะขอกล่าวถึง ชวนชม ไม้ดอกไม้ประดับที่มีสีสันสวยงาม ที่บางคนอาจจะสงสัยว่ามันมีพิษอย่างไร งั้นเราจะขอนำเสนอ เพื่อเเก้ข้อสงสัยของทุกท่าน เเละได้เข้าใจกันอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เชิญไปหาคำตอบพร้อมกันเลย



ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenium obesum(Forsk.) Roem.&Schult.
วงศ์ :                     Apocynaceae
ชื่อสามัญ :           Mock Azalea, Desert Rose, Impala Lily, Pink Bigmonia, Salsi Star
ชื่ออื่น :                 ลั่นทมแดง ลั่นทมยะมขวา (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  •  ต้นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำมียางขาวทุกส่วน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 

  •   ใบ ใบเดี่ยว  รูปช้อน เรียงแบบเวียน







  •  ดอก ดอกเดี่ยวหรือช่อสั้นๆ กลีบดอกสีแดง โคนกลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ผล เป็นฝักคู่รูปยาวรี แก่แตกได้ (ปัจจุบันมีต้นที่มีดอกสีขาวและสีชมพู)

 

พิษของชวนชม

  • ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาว ถูกผิวหนังอักเสบ ถ้ากินมีพิษต่อหัวใจ
  • สารพิษเป็นสารกลัยโคไซด์ เช่น abobioside, echubioside ฯลฯ
  • การเกิดพิษ :ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไป     จะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวด ศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้
  • การรักษา : ทำให้อาเจียนโดยใช้ยาพวก ipecac แล้วรับประทาน activated charcoal (ถ่าน) ส่งโรงพยาบาล ด่วน ถ้ายางถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ถ้าเข้าตาก็ล้างให้สะอาดเช่นกัน มียาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ใส่หรือทา 


ที่มา https://www.samunpri.com/poison/%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%A1-2/

3.คริสต์มาส

คริสต์มาส





      อันดับต่อมาเราจะขอนำเสนอ คริสต์มาส พืชที่นิยมปลูกในเทศกาลคริสต์มาส เเต่รู้หรือไม่ว่าพืชสีสันสวยงามที่หลายคนต่างชื่นชมกับความสวยงามของมันนั้น นอกจากความงามเเล้ว โทษของมันก็มีเช่นกัน ฉะนั้นถ้าอยากรู้ว่าโทษของมันคืออะไรนั้น จะร้ายเเรงเเค่ไหน เชิญไปศึกษาได้เลย



ชื่อวิทยาศาสตร์:           Euphorbia pulcherrima Willd.ex Klotzsch.
วงศ์ :                           Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ :                    Poinsettia, Pointed Leaf, Lobster Plant, Chrismas Star
ชื่ออื่น :                        บานใบ (ภาคเหนือ) โพผัน สองระดู (กรุงเทพฯ) 


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

  • ต้น ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


  •  ใบ เดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ขอบใบหยัก 2-3 หยัก ทุกส่วนมียางสีขาวเหมือนน้ำนม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบคริสต์มาส




  • ดอก ช่อ ออกปลายกิ่ง ในหนึ่งช่อดอกมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ร่วมกัน มีใบประดับสีแดงรูป      หอกขนาดใหญ่อยู่รอบๆ ช่อดอกเป็นจำนวนมาก


 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


พิษของคริสต์มาส


ส่วนที่เป็นพิษ:   นํ้ายางสีขาว จากต้นใบ
 สารพิษ :         resin สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่ม diterpene ester 
 การเกิดพิษ :    น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคืองมาก ผิวหนังเป็นปื้นแดง ต่อมาจะบวมพองเป็นตุ่มน้ำ  ภายใน 2- 8 ชั่วโมง ถ้ารับประทานจะทำให้กระเพาะอักเสบ 
 การรักษา :      ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทาน    เข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร   และรักษาตามอาการ

ที่มา https://www.samunpri.com/poison/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA/








50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...