วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

14.มะกลํ่าตาหนู

มะกลํ่าตาหนู

        สำหรับอันดับนี้เราจะขอนำเสนอ มะกลํ่าตาหนู พืชที่ทุกคนอาจจะยังไมคุ้นเคยมากนัก ด้วยลักษณะผลที่เเปลกเเละลำต้นที่คล้ายคลึงกับพืชทั่วๆไป  เเต่รู้หรือไม่ว่านอกจากลักษณะที่เเปลกของมันเเล้ว พิษของมันก็มีเช่นเดียวกัน เเละพิษของมันจะเป็นอะไรนั้น จะร้ายเเรงเเค่ไหน เชิญร่วมหาคำตอบพร้อมกันเลย

ชื่อวิทยาศาสตร์:   Abrus precatorius L.
วงศ์ :                    Papilionaceae
ชื่อสามัญ :           Jequirity bean, rosary bean, Buddhist rosary bean , Indian bead, Seminole bead, prayer bead, crab 's eye, weather plant, lucky bean
ชื่ออื่น :                 กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำแดง มะแด๊ก มะขามไฟ ตาดำตาแดง ไม้ไฟ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
  • ต้น เป็นพืชตระกูลถั่ว ไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่




  • ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ออกเรียงสลับ ในก้านหนึ่งจะมีใบย่อประมาณ 8-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบมน มีหนามขนาดเล็กติดอยู่ โคนใบมน




  • ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู หรือขาว ผลเป็นฝักคล้ายถั่วลันเตา  เมล็ดกลมรี เมล็ดมีเปลือกแข็ง สีแดงสดเป็นมัน 



พิษของมะกลํ่าตาหนู
  • ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
  • สารพิษ : เมล็ดมะกล่ำตาหนู ภายในเมล็ดมีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต อย่างไรก็ดีสาร abrin นี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวง่าย แต่คงทนอยู่ในทางเดินอาหาร ขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...