วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

26.ฝิ่น

ฝิ่น


          ครั้งนี้เราขอนำเสนอพืชมีพิษ ฤทธฺ์อัตราย อย่าง ฝิ่น ที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดีว่ามันเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่โทษร้ายเเรงยิ่งนัก เเต่ในที่นี้เราขอกล่าวถึงพิษที่เกิดจากฝิ่นดิบ ที่ไม่ฝิ่นสุกที่ใช้สูบ จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญศึกษาพร้อมกันไดเลย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Papaver somniferum L.
วงศ์ : Papaveraceae
ชื่อสามัญ : Opium Poppy

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
  • ต้น ฝิ่นเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านได้บ้าง สูง 50-150 เซนติเมตร ทุกส่วนของพืชให้ยางสีน้ำนม เมื่อยางนี้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

  • ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน โคนใบเว้า ขอบใบเป็นคลื่นหรือยักเว้าลึก กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร ใบที่อยู่ใกล้โคนต้นมีก้านใบสั้น



  • ดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีก้านดอกยาว20-30 เซนติเมตร ออกที่ยอด มีสีสด มีทั้งสีขาว สีชมพู สีแดง หรือสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ร่วงง่ายกลีบดอกมี 4 กลีบ ปลายมนแผ่ออกหรือยักเป็นฝอย ร่วงง่าย เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีปลายยอดเป็นจานแผ่ออกเป็นรัศมี 4-20 แฉก เท่าจำนวนพูของของผล



พิษของฝิ่น
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ยาง ยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียนว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก
  • สารพิษ : Morphine และ อัลคาลอยด์ของฝิ่น (สารเสพติด)
  • การเกิดพิษ : ในขณะที่ผู้เสพตกอยู่ใต้อิทธิพลของยาเสพติดจะมีอาการง่วงนอน เซื่องซึม ชีพจรเต้นช้า ไม่รู้สึกหิว ไม่พูดมาก และไม่สนใจกับสิ่งต่างๆรอบตัว 
  • การรักษา : ตามอาการ และงดเสพโดยเด็ดขาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...