วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

20.เผือก

เผือก


          สำหรับครั้งนี้ จะขอนำเสนอ เผือก พืชที่ทุกท่านเคยพบเห็นทั่วไป เเละบางท่านเคยรับประทานเเล้ว เเต่รู้หรือไม่ว่า มันมีพิษหรือไม่ เเละจะร้ายเเรงเเค่ไหน จะมีวิธีเเก้ไขหรือป้องกันพิษอย่างไร ฉะนั้นเชิญไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


ชื่อสามัญ :              Taro
ชื่อพฤกษศาสตร์ :   Colocasia esculenta (L.) Schott. ชื่อวงศ์ : ARACEAE : แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ :                      เขตร้อนของเอเชียตะวันออก 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 


  • ต้น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว [แบบเผือก] รูปลูกข่างกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ถ้ามีหัวย่อยขนาดใหญ่จะมีจำนวนน้อย ถ้าหัวย่อยมีขนาดเล็กจะมีจำนวนมาก







  • ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปลูกศรแกมรูปหัวใจ โคนใบแต่ละด้านกลมหรือเป็นเหลี่ยม ปลายใบแหลม เส้นใบเด่นชัด ก้านใบยาวได้ถึง 1 เมตร 






  • ดอก ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ ออกเดี่ยวๆ หรือหลายช่อ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร สั้นกว่าก้านใบ กาบหุ้มช่อดอกยาว 15-35 เซนติเมตร ตั้งตรง สีเขียว ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง สีเหลืองอ่อน ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ผลสีเขียว 




พิษของเผือก


  • ส่วนที่เป็นพิษ หัวและทั้งต้นมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้คัน จึงไม่ควรรับประทานแบบดิบ ๆ ต้องนำมาผ่านการต้มหรือหมักก่อนถึงจะรับประทานได้
  • การเกิดพิษ สำหรับบางรายก็อาจมีอาการแพ้เผือกได้ แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม โดยอาการที่พบ คือ คันในช่องปาก ทำให้ลิ้นชา เป็นต้น และการรับประทานเผือกในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ม้ามทำงานได้อย่างไม่เป็นปกติ

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...