วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

5.พญาไร้ใบ

พญาไร้ใบ



      ลำดับต่อมาเราจะขอกล่าวถึง พญาไร้ใบ พืชมีพิษที่ใครๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก เพราะไม่ค่อยได้พบเห็นกันมากนัก หรืออาจจะเคยพบเห็นกันบ้างเเต่ยังไม่รู้รายละเอียดมากพอ ไม่รู้ว่ามันมีพิษอย่างไร ฉะนั้นเรามีมาให้ทุกท่านได้ศึกษา เเละได้หาคำตอบไปพร้อมกัน


ชื่อวิทยาศาสตร์:   Euphorbia tirucalli L.
วงศ์ :                      Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ :             Pencil Plant, Milk Bush
ชื่ออื่น :                   เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่) เคียะเทียน (ภาคเหนือ)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  

  • ต้น ไม้พุ่มสูง 1-3 เมตร ลำต้นสีเขียว กลมขนาดเล็ก อวบน้ำ มียางสีขาวทุกส่วน  ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านมากมาย ลำต้นต่อกันเป็นข้อๆ



  • ใบ ใบ เดี่ยว ขนาดเล็กมาก ร่วงง่าย 



  •   ดอก เป็นกระจุกตามข้อหรือปลายกิ่ง สีขาวอมเหลือง ส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย ดอกสมบูรณ์เพศมีเล็กน้อย ผล ไม่ค่อยติด รูปร่างผลยาว มี 3 พู ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้ม




พิษของพญาไร้ใบ

  • ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม
  • สารพิษ : ยางมีสาร 4-deoxyphorbol และอนุพันธ์เป็นสารร่วมก่อมะเร็ง euphorbon, euphorone, resin, taraxasterol, tirucallol
  • อาการเกิดพิษ : ถ้าถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น อักเสบ บวมแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบแดง ถ้ารักษาไม่ถูกหรือทิ้งไว้ตาอาจบอดได้ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ช่องปากจะบวม คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะปัสสาวะและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรง อาจอุจจาระเป็นเลือด
  • การรักษา : ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง มียาสเตียรอยด์ให้ทาที่ผิวหนัง ถ้ามียาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์ให้ยอดตาถ้ารับประทาน 1. ให้ใช้ activated charcoal รับประทานเพื่อดูดเอาส่วนที่ยังไม่ดูดซึมออก 2. ล้างท้องหรือทำให้อาเจียน 3. ให้ดื่มนมหรือไข่ขาว เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ 4. ส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...