ละหุ่ง
สำหรับอันดับนี้เราจะขอนำเสนอ พืชที่ทุกคนอาจจะยังไมคุ้นเคยมากนัก ด้วยลักษณะผลที่เเปลกเเละลำต้นที่คล้ายคลึงกับพืชทั่วๆไป เเต่รู้หรือไม่ว่านอกจากลักษณะที่เเปลกของมันเเล้ว พิษของมันก็มีเช่นเดียวกัน เเละพิษของมันจะเป็นอะไรนั้น จะร้ายเเรงเเค่ไหน เชิญร่วมหาคำตอบพร้อมกันเลย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ricinus communis L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Castor Bean
ชื่ออื่น มะโห่ง,ละหุ่งแดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พิษของละหุ่ง
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่มเตี้ย พบมีปลูกมากในประเทศบราซิล และบริเวณประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรเช่นประเทศไทยขนาดความสูงของต้นละหุ่งประมาณ 3-5 เมตร
- ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่คล้ายใบปาล์มขอบใบหยัก ก้านยาว
- ผล มีหนามโดยรอบมี 3 พู รวม 3 เมล็ด เมล็ดแบนรี ด้านนอกโค้งด้านในแบน เมล็ดมีสีชมพูเป็นลายพล้อยปนสีเทาเมล็ดที่แก่จัดจะนำไปใช้ประโยชน์มากมายทางด้านอุตสาหกรรม
- ส่วนที่เป็นพิษ : ส่วนของใบ ลำต้น เมล็ด
- สารพิษ : ความเป็นพิษของละหุ่งเกิดจาก ไรซิน (ricin) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษสูงมากชนิดหนึ่งในบรรดาอาณาจักรของพืช เนื้อเยื่อในของเมล็ดละหุ่งประกอบด้วยไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ หอบหืดในหมู่คนงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น