บอน
นํ้ากลิ้งบนใบบอน ถ้าพูดถึงสุภาษิตนี้ ทุกคนต้องนึกถึงพืชชนิดนี้ นั่นคือ บอน ชึ่งเเน่นอนว่าต้องรู้จักเเละเคยพบเห็นกันอย่างเเพร่หลาย พอจะรู้ถึงลักษณะของมันบ้างเเล้ว เเต่ในวันนี้เราจะขอกล่าวถึงในมุมที่ทุกคนอาจจะยังไม่รู้ เรื่องพิษของมันนั่นเอง จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญไปค้นหาได้เลย
ชื่อไทย : บอน
ที่มา https://medthai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99/
ชื่อสามัญ : Elephant
ear
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia esculenta (L.) Schott var. aquafiilis Hassk.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ลักษณะทั่วไป
- ต้น เป็นพืชล้มลุกหลายฤดู ชอบขึ้นตามชายน้ำหรือที่ลุ่มมีน้ำขัง ลำต้นเป็นหัวเล็ก ๆ อยู่ในดิน ชูก้านใบโผล่ขึ้นมา มีไหลเลื้อยไปเกิดเป็นต้นใหม่ ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
- ใบ เป็นใบเดี่ยว มีก้านอวบน้ำใหญ่ยาว ใบมีรูปร่างหลายแบบคล้ายหัวลูกศร ก้านใบติดกับแผ่นใบทางด้านล่าง โคนก้านใบแผ่กว้างหุ้มประกบกัน
- ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกสั้นกว่าก้านใบ มีก้าบหุ้มดอกยาวรี โคนป่องมีช่องเปิดเห็นช่อดอกตรงกลาง ส่วนบนของช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ ส่วนล่างเป็นดอกตัวเมีย
พิษของบอน
- ส่วนที่เป็นพิษ : ต้นบอนจะมีน้ำยางเหนียวสีขุ่น ๆ ถ้าถูกจะคัน
- การเกิดพิษ : ถ้าสัมผัสถูกพืชที่มียางจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เป็นผื่นแดง ผิวหน้าบวม และอาจจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้
- การรักษา : ในกรณีที่สัมผัสกับน้ำยางใสให้ล้างด้วยน้ำและสบู่ แต่ถ้าถูกน้ำยางขาวซึ่งล้างด้วยน้ำและสบู่ไม่ออกให้ล้างหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วทาด้วยคาลาไมด์ และรับประทานยาแก้แพ้ ควรประคบบริเวณที่มีอาการด้วยน้ำเย็นจัดประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ายางเข้าตาควรล้างตาทันทีด้วยน้ำยาล้างตา หยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มีตัวยาเป็นสเตียรอยด์ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น