ตำแยช้าง
ต่อจากนี้เราก็จะขอกล่าวถึงพืชมีพิษอย่าง ตำเเยช้าง ทุกคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือเคยพบเห็นมากนัก ชึ่งก่อนหน้านี้เราก็มีการนำเสนอพืชมีพิษอย่าง ตำเเยมาเเล้ว ในอันดับที่ 1 ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่ามันเเตกต่างกันหรือเมือนกันอย่างไร ฉะนั้นเราไปร่วมหาคำตอบพร้อมกันกับพืชมีพิษ ฤทธิ์อันตรายชนิดนี้ได้เลย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocnide stimulans (L.f.) Chew
พิษของตำเเยช้าง
วงศ์ : Urticaceae
ชื่ออื่น : สามแก้ว (ภาคใต้) หานเดื่อ หานสา
(ภาคเหนือ) เอ่โก่เปอ ไอ้ขุนา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเวียนกัน ทรงใบรูปหอกกลับ โคนใบสอบ ปลายสุดของใบเรียวแหลม ผิวใบด้านล่างเป็นคราบขาว
- ดอก ดอกเล็กสีขาวปนเหลือง หรือสีม่วงอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อยาวๆ ห้อยตามง่ามใบ ผลเล็ดกลมสีเขียว
- ส่วนที่เป็นพิษ : ขนหรือเกล็ดตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ช่อดอก จะทำให้เกิดอาการคัน ผิวหนังไหม้เกรียม หรือแดง เป็นผื่นและปวดมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น