วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

27.ฝิ่นต้น

ฝิ่นต้น




         อันดับที่เเล้วเรากล่าวถึง ฝิ่น เเต่ครั้งนี้ จะขอนำเสนอ ฝิ่นต้น ที่ชื่ออาจจะคล้ายกัน เเต่ไม่เหมือนกัน ชึ่งก็ต่างมีพิษทั้งสองชนิด จะร้ายเเรงเเค่ไหน จะมีวิธีเเก้ไขหรือป้องกันพิษอย่างไร เรามีมาให้ได้ศึกษา ฉะนั้นเชิญไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha multifida L.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Coral Bush , Coral Plant, Physic Nut
ชื่ออื่น : มะหุ่งแดง (ภาคเหนือ) มะละกอฝรั่ง (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้น ไม้พุ่ม สูง1-5 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาวเหลือง





  • ใบ ใบ เดี่ยวขนาดใหญ่ ขอบใบเว้าลึกเป็นแฉกๆ แบบนิ้วมือ 9-10 แฉก แต่ละแฉกแบ่งเป็นหยักปลายแหลมเรียว ก้านใบยาว โคนก้านใบมีหูใบเป็นเส้นๆ หลายเส้น ใบออกแบบสลับ 




  • ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีแดง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ผล รูปร่างค่อนข้างกลมมี 3 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง ใบ ต้น เมล็ด




พิษของฝิ่นต้น
  • สารพิษ : น้ำยางมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการอักเสบระคายเคือง เมล็ดมีสาร curcin, jatrophin ซึ่งเป็นสารพิษพวก toxalbumin
  • การเกิดพิษ : น้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาต ได้ถึง 24 ชั่วโมง และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 7 วัน การหายใจเต้นเร็ว ความดันต่ำ ถ้ารับประทาน 3 เมล็ด อาจตายได้
  • การรักษา : ล้างน้ำยางออกจากผิวหนังโดยใช้สบู่ และน้ำอาจให้ยาทา สเตียรอยด์ ถ้ารับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกใช้ activated charcoal ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียร และรักษาตามอาการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...