หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

9.โหรา

โหรา


           จากอันดับที่เเล้วเรากล่าวถึง บอน สำหรับครั้งนี้เราจะขอกล่าวถึง โหรา พืชที่มีลักษณะคล้ายกับบอน กันบ้าง ที่หลายคนอาจเคยพบเห็นเเต่ยังไม่รู้จักมากพอ ไม่รู้ถึงอันตรายของพืชชนิดนี้ ฉะนั้นไปหาคำตอบพร้อมกันได้เลยว่า โหรา จะมีพิษร้ายเเรงขนาดไหน เเละมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง


ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena aromatica
วงศ์ :                     Araceae
ชื่อสามัญ :            โหรา
ชื่ออื่น :                  คูน กระดาดขาว กระดาดดำ ออดิบ


ลักษณะทั่วไป
  • ต้น  ลำต้นสีขาว ไม้ล้มลุกหลายปีมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบแทงออกจากเหง้า ก้านใบยาวสีเขียวที่ผิวมีไขเคลือบอยู่




  • ใบ  ก้านใบมีไขเคลือบอยู่ มองดูมีสีขาวนวล เนื้อของก้านใบกรอบน้ำ และมีรูอากาศแทรกอยู่ในเนื้อใบ ใบเป็นรูปหอกปนรี ปลายใบมน ฐานใบเว้า ริมใบเรียบหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ผิวใบมันและมีสีเขียว ใบกว้าง 16-17 นิ้ว ใบยาว 11-19 นิ้ว ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง อ้อดิบกับโหรา คือ สี โหราจะมีสีเขียวเข้มกว่า ทั้งก้านและใบ ส่วนอ้อดิบจะมีสีเขียวอ่อนเกือบขาว





  • ดอก ดอกช่อ ออกเป็นแท่งเดี่ยวๆ ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ฉ่ำน้ำ ผล เป็นผลสด สีเขียว






พิษของโหรา

  • ส่วนที่เป็นพิษ: น้ำยางจากทุกส่วนของต้นและเมล็ด
  • สารพิษ: Calcium Oxalate ลักษณะผลึกเป็นรูปเข็ม ไม่ละลายน้ำ (bundle of the needle like crystals ; raphides) ส่วนที่มีผลึกมาก คือ น้ำยางใสจากทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะลำต้น และใบ
  • อาการพิษ :หลังจากรับประทานแล้ว จะมีอาการระคายเคืองในลำคอ ปากและลิ้น ทำให้ลิ้นแข็ง ไม่สามารถพูดได้  
  • การรักษา :ถ้าเผลอรับประทานเข้าไปแล้วรู้สึกผิดปกติ ก็ให้หยุดทันที รีบล้างปาก ดื่มนมเย็น หรือไอศกรีม เพื่อลดอาการระคายเคืองเฉพาะที่ แต่ห้ามทำให้อาเจียน เพราะจะทำให้สารพิษย้อนขึ้นมาสัมผัสเยื่อบุปากและคออีกครั้ง แล้วจึงรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว” ในขณะที่บางกระแสก็มีการปฐมพยาบาลแบบอื่น ๆ เช่น บ้วนปากด้วยน้ำมะพร้าว หรือให้ดื่มน้ำส้มสายชูหมักของฝรั่งสักสองสามช้อนโต๊ะ  (ไม่ใช่น้ำส้มสายชูกลั่นแบบไทย) เพราะความเป็นกรดของน้ำส้มสายชูหมักจะลดการระคายเคืองจากผลึกรูปเข็มแหลมเล็กของโหราที่กระจายอยู่ตามคอ และหลอดอาหาร และบ้างก็บอกว่าให้รีบหาน้ำตาลทรายขาวหรือแดงมาอมอย่างด่วนที่สุด เพื่อเป็นการบรรเทาอาการก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น