วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้


           สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล บรรเทาอาการเจ็บปวดได้ เเต่ทุกท่านคงยังไม่รู้ว่านอกจากประโยชน์อันมากมายของมันเเล้ว โทษของมันก็มีเช่นกัน จะเป็นอะไรนั้น เเละร้ายเเรงมากแค่ไหน เชิญไปศึกษาพร้อมกันได้เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera L. Burm. f.
วงศ์ : Asphodelaceae (Liliaceae)
ชื่อสามัญ : Aloe, Star Cactus
ชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) หางตะเข้ (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

  • ต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร มีข้อและปล้องสั้นๆ 





  • ใบ ใบเดี่ยว อวบน้ำมาก สีเขียว ภายในใบมีน้ำยางสีเหลือง ถัดไปเป็นวุ้นใส 





  • ดอก ช่อ ก้านช่อดอกยาวมาก ออกจากลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดสีส้มห้อยลง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้ ส่วนที่เป็นพิษ : ยางสีเหลืองจากใบ




พิษของว่านหางจระเข้
  • สารพิษ :ยางเเละลำต้น 
  • การเกิดพิษ:ยางงสีเหลืองจากใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้อาเจียน ส่วนวุ้นและน้ำเมือก ห้ามให้คนที่แพ้ยาต่างๆง่าย หรือร่างกายขาความต้านทานยาต่างๆ เพราะกินว่านหางจระเข้ไปแล้วอาจเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง

49..ผกากรอง

  ผกากรอง


          อันดับต่อมาเราจะขอนำเสนอ ผกากรอง พืชที่นิยมปลูกตกเเต่งบ้านหรือสวน   เเต่รู้หรือไม่ว่าพืชสีสันสวยงามชนิดนี้ นอกจากความงามเเล้ว โทษของมันก็มีเช่นกัน ฉะนั้นถ้าอยากรู้ว่าโทษของมันคืออะไรนั้น จะร้ายเเรงเเค่ไหน เชิญไปศึกษาได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์:Lantana camara L.
ชื่อสามัญ : Cloth of Gold, Hedge Flower, Orange Sedge
ชื่ออื่น : ก้ามกุ้ง เบญจมาศป่า (ภาคกลาง) ขะจาย ตาปู มะจาย (แม่ฮ่องสอน) ขี้กา คำขี้ไก่ (เชียงใหม่) ดอกไม้จีน (ตราด) ยี่สุ่น (ตรัง) สามสิบ (จันทบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

  • ต้น ไม้พุ่มสูงได้ถึง 40-90 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม มีขนทุกส่วน ยกเว้นกลีบดอกและผล 





  • ใบใบ เดี่ยว แผ่นใบสากมีขน ปลายใบแหลม โคนใบมน 





  • ดอก ดอก ช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กมาก มีหลายสี เช่น สีขาว ชมพู เหลือง ม่งและแดง ผล ขนาดเล็ก กลม สีเขียว สุกสีดำ




พิษของผกากรอง
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ผลแก่แต่ยังไม่สุก และใบ
  • สารพิษ : ในใบพบสาร triterpenes ชื่อ lantadene A และ B, lantadene A มีพิษมากกว่า lantadene B และสารขม corchorin
  • การเกิดพิษ : สาร lantadene A และ B เป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง แต่ไม่เป็นพิษต่อตับ แต่อนุพันธ์ของมันเป็นพิษต่อตับ ในเมล็ดมีสาร glycosides corchoroside A และB จะกระตุ้นหัวใจ ส่วนสารขม corchorin กินมากทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ม่านตาขยาย ชีพจรผิดปกติ และอาจหมดสติ


48.เเพงพวยฝรั่ง

แพงพวยฝรั่ง


           อันดับต่อมาเราจะขอนำเสนอ เเพงพวยฝรั่ง พืชที่พบเห็นทั่วไป ตามบ้านเรือน เเต่รู้หรือไม่ว่าพืชสีสันสวยงามชนิดนี้ นอกจากความงามเเล้ว โทษของมันก็มีเช่นกัน ฉะนั้นเชิญไปศึกษาเเละร่วมหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์: Catharanthus roseus L.
วงศ์ : Apocynaceae
ชื่อสามัญ : Madagascar Periwinkle, West Indian Periwinkle

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้นเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงได้ถึง 80 ซม. ลำต้นและกิ่งก้าน มีขนละเอียดปกคลุม 





  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้าม ใบเกลี้ยง รูปไข่ถึงไข่กลับปลายใบมนหรือกลม มีติ่งที่ปลายใบ โคนใบกลม หรือรูปลิ่ม มีเส้นใบแขนงจำนวน 7-10 คู่ เป็นสันนูนชัดเจน มีขนปกคลุม 





  • ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มีขนปกคลุม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันที่โคนกลีบ ส่วนปลายแยกเป็นแฉกปลายแหลมขนาดเล็ก มีขนปกคลุมกลีบดอกมีสีขาว, ชมพู-ม่วง, ชมพู หรือชมพูขาว 




พิษของเเพงพวยฝรั่ง
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วนของต้น (โดยเฉพาะใบ) พบ alkaloids มากกว่า 80 ชนิด ที่สำคัญได้แก่Ibogaine-like alkaloids, Vinblastine, Vincristine, Vinrosidine, Lenrosine, Lenrosivine, Rovidine, Carosine, Perivine, Perividine, Vindolinine และ Pericalline
  • การเกิดพิษ : ใบทำให้ท้องเดินและมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ และอาจหมดสติได้ 

47.ทองหลางใบมน

ทองหลางใบมน


        พืชมีพิษ ฤทธิ์อันตราย อันดับที่ 47 ทองหลางใบมน เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ค่อยได้พบเห็นมากนัก เเต่อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องทำความเข้าใจ เพื่อหาทางป้องกันได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้นไปทำความรู้จักพร้อมกันได้เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina Fuscsa Lour.
ชื่อพ้อง : Erythrina glauca Willd.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Chekring, Coral Bean, Purple Coral-Tree, Swamp
ชื่ออื่น : ทองหลางน้ำ ทองโหลง (ภาคกลาง) ทองหลางบ้าน (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ กิ่งก้านมีหนาม 





  • ใบ ใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน 




  • ดอก ออกเป็นช่อ ดอกออกแบบสลับ ออกที่ยอด ดอกย่อยออกเป็นกระจุก กระจายกันตามก้านดอก ดอกสีแดงอิฐ มีใบประดับรูปไข่ ผลเป็นฝัก เปลือกแข็ง มีขนปกคลุม เมล็ดรูปโค้งแกมขอบขนาน สีน้ำตาลดำหรือดำ




พิษของทองหลางใบมน
  • ส่วนที่เป็นพิษเมล็ด
  • สารพิษ : agglutinin, butyric acid, g-amino, erysodine, erysopine, erythraline, erythratidine, erythratine, d-acetyl-ornithine
  • การเกิดพิษ :ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไป ทำให้คลุ้มคลั่ง คล้ายวิกลจริต

46.กระท่อม

กระท่อม


           กระท่อม  เป็นพืชมีพิษอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสารเสพติด เช่นเดียวกับ ฝิ่น เเละ กัญชา ที่ได้นำเสนอไปเเล้ว ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น จะได้หาทางป้องกันได้ถูกวิธี เเละไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดชนิดนี้ เชิญไปศึกษาได้เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์Mitragyna speciosa (Roxb.) Korth.
วงศ์ Rubiaceae-
ชื่ออื่น : อีถ่าง (ภาคกลาง) ท่อม (ภาคใต้)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

  • ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร





  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่กว้าง ยาว 12-18 ซม. กว้าง 5-10 ซม. ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบป้านกลม แผ่นใบบาง ด้านท้องใบมีเส้นใบเป็นสันขึ้นมาชัดเจนเมื่อแก่ 





  • ดอก ออกเป็นดอกช่อกระจุกกลม แตกจากปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ก้านดอกช่อยาว 3-5 ซม. แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ขนาดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนกลีบ 




พิษของกระท่อม

  • ส่วนที่เป็นพิษ:ใบ
  • สารพิษในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง
  • การเกิดพิษ:ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก ทำให้ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน

45.ใบระบาด

ใบระบาด



         อันดับนี้ เราจะขอนำเสนอ พืชมีพิษ ฤทธิ์อันตราย ใบระบาด ดูจากชื่อเเล้ว คงมีหลายคนที่ยังไม่รู้จัก และไม่ค่อยได้พบเห็นมากนัก จึงไม่รู้ว่ามันมีพิษอย่างไร ฉะนั้นเรามีมาให้ทุกท่านได้ศึกษาอย่างละเอียด เชิญไปศึกษาพร้อมกันได้เลย


ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer
วงศ์ : Convolvulaceae
ชื่อสามัญ : Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose
ชื่ออื่น : ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

  • ต้น ไม้เถา ยาวได้ถึง 10 เมตร ทุกส่วนมียางสีขาว และขนสีขาวหนาแน่น 





  • ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปหัวใจ กว้าง 9 - 25 เซนติเมตร ยาว 11 - 30 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนเว้า ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม สีเทาเงิน 




  • ดอก สีม่วงอมชมพูออกเป็นช่อตามซอกใบ ก้านช่อแข็ง  ใบประดับ รูปไข่ ยาว 3 - 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกรูปกรวย ปลายแผ่ออกและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ  ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายมีติ่ง




พิษของใบระบาด

  • ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ เมล็ด
  • สารพิษ : เมล็ด( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
  • การเกิดพิษ : ใบ ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้คลุ้มคลั่ง ตาพร่า มึนงง เมล็ด ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน 

44.รัก

รัก




        สำหรับพืชมีพิษอันดับต่อมาที่เราจะขอนำเสนอ คือ รัก พืชที่หลายคนคงรู้จักเคยพบเห็นเป็นอย่างดีตามข้างถนนหนทาง สวน นา ไร่ ซึ้งอาจจะรู้ถึงพิษของมันบ้างเเล้ว เเต่คนใดที่ยังไม่รู้ ในวันนี้เรามีมาท่านได้ศึกษาอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น ถ้าอยากรู้ว่าจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญศึกษาไดเลย


ชื่อวิทยาศาสตร์: Calotropis gigantea L. Dryandr ex W.T.Aiton
วงศ์ : Asclepiadaceae
ชื่อสามัญ : Milk Weed , Crown Flower, Giant lndian Milk
ชื่ออื่น : ดอกรัก รักดอก รักร้อยมาลัย (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้น ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1.5-3 ม. ทุกส่วนมีน้ำยาง ขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน





  • ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนเว้า กว้าง 6-8 ซม. ยาว 10-14 ซม เนื้อใบหนาใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น 





  • ดอก สีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเทาเงิน หรือสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางมีรยางค์เป็นสันคล้ายมงกุฎ 5 เส้น




พิษของรัก
  • ส่วนที่เป็นพิษ : ยางจากส่วนต่างๆ มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจรุนแรงผิดปกติ
  • การเกิดพิษ : ยางจากส่วนต่างๆ มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจรุนแรงผิดปกติ 

43.ว่านสี่ทิศ

ว่านสี่ทิศ


        สำหรับ ว่านสี่ทิศ เป็นพืชประดับอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาปลูกตกแต่งบ้านเรือน บางคนอาจจะสงสัยว่ามันมีพิษอย่างไร งั้นเราจะขอนำเสนอ เพื่อเเก้ข้อสงสัยของทุกท่าน เเละได้เข้าใจกันอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เชิญไปหาคำตอบพร้อมกันเลย


ชื่อวิทยาศาสตร์: Hippeastrum johnsonii Bury
วงศ์ : Amaryllidaceae
ชื่อสามัญ : Star Lily

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้น เป็นพรรณไม้ดอกอายุสั้น พุ่มสูง 35 - 60 เซนติเมตรที่มีลักษณะมีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน และส่วนที่โผล่ขึ้นมานั้นจะเป็นส่วนก้านใบและตัวใบเท่านั้น ซึ่งหัวนี้ลักษณะจะคล้ายๆกับหอมหัวใหญ่ สำหรับ 





  • ใบ ใบที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปหอกเรียวยาว และมีสีเขียวสดเป็นมัน ใบหนา ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 - 30เซนติเมตร หรือาจจะมากกว่านั้นก็ได้ 





  • ดอก ออกปลายก้าน ออกเป็นช่อ 4 - 8 ดอก หันไปทั้งสี่ทิศ ดอกรูปถ้วย  มี สีขาาว สีชมพู สีแดง และบาางชนิด มีแถบสีต่างๆพาดกลีบ ดอกแรกที่จะบานจะรอจนดอกที่ 4 บานจึงจะเหี่ยว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนมิถุนายน หัว รูปกลม หัวโตเต็มที่พร้อมให้ดอก ส่วนหัวลูกขนาดเล็ก แยกหัวนำมาปลูกเลี้ยง ใบให้หัวโตเต็มที่ แล้วจะออกดอกต่อไป




พิษของว่านสีทิศ
  • ส่วนที่เป็นพิษ : หัวและใบ
  • การเกิดพิษ : ทำให้อาเจียนและท้องเดินได้ 

42.ผักบุ่งทะเล

ผักบุ้งทะเล


        นํ้าท่วมทุ่ง ผักบุ่งโหรงเหรง ถ้าพูดถึงสุภาษิตนี้ ทุกคนต้องนึกถึงพืชชนิดนี้ นั่นคือ ผักบุ่ง ชึ่งเเน่นอนว่าต้องรู้จักเเละเคยพบเห็นกันอย่างเเพร่หลาย  พอจะรู้ถึงลักษณะของมันบ้างเเล้ว เเต่ในวันนี้เราจะขอกล่าวถึง ผักบุ่งอีกชนิดหนึ่ง นั่นคือ ผักบุ่งทะเล ที่ทุกคนอาจจะยังไม่รู้ เรื่องพิษของมันนั่นเอง จะเป็นอย่างไรนั้น เชิญไปค้นหาได้เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.
วงศ์ Convolvulaceae
ชื่อสามัญ : Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory
ชื่ออื่น : ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ต้น ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว 



ใบ ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก 



ดอก ดอก ช่อ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้



พิษของผักบุ้งทะเล
  • ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
  • การเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้ประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง หวาดผวาคล้ายวิกลจริต 

41.กัญชา

กัญชา


        กัญชา พืชมีพิษ ฤทธิ์อันตราย อันดับที่ 40 เป็นพืชมีพิษอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสารเสพติด ซึ่งทุกท่านคงจะรู้ถึงพิษสงของมันบ้างเเล้ว ฉะนั้นเพื่อป้องกันเเละรู้จักมันให้มากขึ้น เพื่อจะได้ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดชนิดนี้ เชิญไปศึกษาได้เลย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cannabis sativa L.
วงศ์ : Canabaceae
ชื่อสามัญ : Hemp, Indian Hemp, Ganja, Kif, Weed, Grass, Pot
ชื่ออื่น : กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา 



ใบ ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย 



ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล



พิษของกัญชา

  • ส่วนที่เป็นพิษ : ใบและช่อดอก
  • สารพิษ : ยอดของต้นเพศเมียที่กำลังออกดอกเรียก กะหลี่กัญชา เมื่อตากให้แห้งแล้วนิยมนำมาใช้สูบ กะหลี่กัญชาให้เรซินซึ่งเป็นยาเสพย์ติด
  • การเกิดพิษ : ผู้ที่เมากัญชาจะมีอาการเกิดขึ้นต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม อาจมีอารมณ์สนุกหรือโศกเศร้าก็ได้ มีความรู้สึกเลอะเลือนในเรื่องเวลา บางคนมีอาการก้าวร้าว แต่บางคนมีความหวาดกลัว ความคิดสับสนและเกิดอารมณ์เคลิ้มฝัน ฤทธิ์ของกัญชาอยู่ในร่างกายได้นาน 3-5ชั่วโมง หลังจากนี้ผู้เสพจะมีอาการเซื่องซึมและหิวกระหาย เมื่อสร่างเมาแล้วนิยมกินของหวาน ผู้ที่สูบเป็นประจำมักสมองเสื่อมและเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ 

50.ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้            สำหรับอันดับสุดท้าย เราขอนำเสนอ ว่านหางจระเข้ พืชสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาบาดเเผล...